วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาบ้านเหมืองกุง


บ้านเหมืองกุง


       ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านเหมืองกุง จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่จากรุ่นสู่รุ่นเล่าว่า บรรพบุรุษของตนเองที่มาตั้งรกรากปักฐานอยู่ ณ หมู่บ้านเหมืองกุงแห่งนี้เป็นคนเผ่าไท ซึ่งถูกกวาดต้อนมาจากเมืองปุ เมืองสาด รัฐเชียงตุง ซึ่งหนีจากการถูกพวกพม่ารุกรานได้มาอาศัยอยู่ที่แห่งนี้ ปัจจุบันอยู่ในเขตรัฐฉานของประเทศพม่า โดยอพยพมาเพียง 6 ครัวเรือน (ปัจจุบันที่เมืองปุ เมืองสาดยังคงมีชาวบ้านที่มีวิถีชีวิตแบบชาวบ้านเหมืองกุงยังคงมีอยู่) จากคำบอกเล่าดังกล่าวได้สอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลาย ลักษณ์อักษรต่าง ๆ เช่นตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ พงศาวดารโยนกและข้อมูลจากป๊บกระดาษสาต่างๆ กล่าวถึงการเกณฑ์กำลังคนจากพม่าและสิบสองปันนามาสู่อาณาจักรล้านช้างหลาย ครั้งถึงยุคฟื้นฟูเชียงใหม่หลังจากที่ตกอยู่ในอำนาจพม่าเป็นเวลานานกว่า 2 ศตวรรษ ในปีระหว่างพ.ศ. 2325 – 2356 สมัยพระเจ้ากาวิละแห่งต้นตระกูลเจ้าเจ็ดตนขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ ยุคนั้นเรียกว่ายุค  เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง  บรรพบุรุษของบ้านเหมืองกุงได้ถูกกวาดต้อนมาให้ตั้งรกราก ณ ที่ปัจจุบันแห่งนี่ร่วม 200 กว่าปี โดยให้ทำนาเพื่อนำผลผลิตคือ ข้าวเปลือกส่งให้แก่ เจ้ากาวิโรรสสุริยวงค์   (เจ้าชีวิตอ้าว) ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้ากาวิละเจ้าเมืองเชียงใหม่ บริเวณที่นาของเจ้าเมืองจะอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านเหมืองกุงพอถึงฤดูเก็บ เกี่ยว ชาวบ้านก็จะนำข้าวเปลือกบรรทุกล้อวัวเทียมเกวียนไปส่งที่คุ้มเจ้าเมืองในตัว เมืองเชียงใหม่ หมดจากฤดูทำนาจากอาชีพที่ติดตัวมาคือ ช่างปั้น เช่น น้ำต้น (คนโฑ) หม้อน้ำ สำหรับไว้ใส่น้ำดื่มน้ำใช้หรือขายเป็นรายได้จุนเจือครอบครัวและใช้ในพุทธ  ศาสนะพิธีเป็นสังฆทานถวายวัด เป็นวิถีชีวิตที่สืบต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน 


ที่มา : (ศรีวิจิตตรา 2549 11)

วัสดุอุปกรณ์

วัสดุอุปกรณ์
         
1. วัสดุอุปกรณ์ ในการปั้นเครื่องปั้นดินเผา
             

          1.ดินเหนียว
          2.ที่วัดขนาด รูปทรง ความสูงต่ำ
          3.ไพ่
          4.แผ่นกระเบื้อง
          5.สายเอ็น
          6.แป้นหมุน
          7.ผ้าผืนเล็ก



วัสดุอุปกรณ์ในการปั้นเครื่องปั้นดินเผา


2.วัสดุอุปกรณ์ ในการขัดเครื่องปั้นดินเผา

      1.น้ำมันโซล่า
      2.หินขัด
      3.น้ำเปล่า

น้ำมันโซล่าและดินแดง



วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ขั้นตอนวิธีการทำ


ขั้นตอนการหมักดิน / การเตรียมดิน
1. นำดินที่ได้จากการขุด ไปตากให้แห้ง แล้วนำมาบดให้ละเอียด
2. ร่อนให้เศษหิน เศษทรายออกไปให้หมด
3. จากนั้นนำมาผสมกับน้ำ แล้วนำไปหมักในอ่างประมาณ 1-2 วัน
 จึงสามารถนำมาปั้นได้
     
การเตรียมดิน มี 2 ขั้นตอน คือการหมักดิน เมื่อขุดมากจากแหล่งดินแล้ว จะนำดินมาผสมกันในอัตราส่วนของดินเหนียวมาก 2 ส่วน ดินเหนียวน้อย 1 ส่วน โดยต้องแยกเศษไม้เศษหินออก จากนั้นรดน้ำให้ชุม จากนั้นนำไปหมักเป็นเวลา1 วัน เป็นอย่างน้อย
      
ขั้นตอนที่ 2 คือให้นำดินเข้ามาเตรียมนวด และเครื่องเครื่องนวดดินจะรีดดินออกมาเป็นท่อนๆ ห่อด้วยพลาสติกเก็บไว้ 2 วัน

ภาพที่ 1 : สถานที่ที่ใช้เตรียมดินและหมักดิน

ขั้นตอนการปั้นหม้อน้ำ
      1.นำก้อนดินเหนียวมานวดให้อ่อนตัว นำวงลงบนแป้นหมุน
      2.กดดินส่วนกลางให้เป็นหลุมกว้างๆ แล้ว่กอก้นขึ้นไปเรื่อยๆ แล้วค่อยๆไล่ระกับไป ปาดดินส่วนที่ไม่ต้องการออก
      3.ใช้อุปกรณ์ขูดเพื่อดันเป็นรูปทรงจากในทำให้ตัวท้องหม้อเริ่มผายออก
      4.ใช้ผ้าเกลี่ยพื้นผิวด้านนอกให้เรียบ ปาดเอาดินส่วนที่ไม่ใช้ออก
      5.สร้างลวดลายโดยการใช้ไม้กดทับ ทำให้เกิดเป็นร่อง
      6.ใช้สายเอ็นตัดส่วนด่านล่างออก เพื่อมาทำขั้นตอนต่อไป



ภาพที่ 2 : ขั้นตอนการปั้นหม้อ

คลิปวิดิโอการสาธิตวิธีการปั้นหม้อน้ำ

คลิปวิดิโอการสาธิตวิธีการปั้นฝาหม้อน้ำ

ขั้นตอนตากหม้อ       

          1.นำหม้อน้ำที่ได้จากการปั้นเสร็จเรียบร้อยมาตากในที่ร่มหรือที่แจ้งก็ได้

ภาพที่ 3 : การตากหม้อ

ขั้นตอนการแกะลายหม้อ

       1.ใช้ฝาภาชนะน้ำดื่มพลาสติกกดทับลงไปบนเส้นที่บริเวณคอหม้อน้ำให้ปรากฏเป็นรอยยัก
       2.เส้นที่สอง จะสร้างลวดลายด้วยวิธีการกดทับลาย เป็นสามเหลี่ยมรูปหัวใจลงไป
       3.เซาะร่องเอาส่วนที่เป็นฟันปลาออก เพื่อให้ลวดลายสามเหลี่ยมทรงหัวใจเด่นขึ้นมา
       4.จากนั้นนำหินแม่น้ำขัดมันให้เงางาม
ภาพที่ 4 : หม้อที่ได้รับการแกะเรียบร้อย

ขั้นตอนการขัดด้วยหินแม่น้ำ

         1.นำหม้อนำที่ได้จากการตากและแกะลายเสร็จเรียบร้อยมาเตรียมการขัด
         2.นำสีที่ได้จากดินแดงมาบดให้ละเอียดผลมกับน้ำมันโซล่า
         3.ทาลงไปบนหม้อน้ำ นำไปตากให้แห้ง
         4.ขัดด้วยหินแม่น้ำ จนเกิดความเงางาม



ภาพที่ 5 : การขัดหม้อ

ขั้นตอนการเผา

         1.นำหม้อน้ำใส่ในหม้อดินเผาเพื่อกันไม่ให้แตก นำเข้าเตาเผา สุมกองฟืน 4 ด้าน เพื่อกระจายอุณหภูมิเฉลี่ยเท่าๆกันทั้ง 4 ด้าน
         2.ปูพื้นด้วยขี้เถ้า แล้วนำเศษฝางมาวางทับ
         3.เผาประมาณ 8 – 10 ชั่วโมง จึงนำออกจากเตาเพื่อวางจำหน่ายได้



ภาพที่ 6 : ขั้นตอนการเผา


วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของเครื่องปั้นดินเผา

ประโยชน์ของเครื่องปั้นดินเผา
            ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผามีมากมายหลายชนิด ซึ่งถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งสิ้น นับตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน เครื่องประดับ ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นจากความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นของมนุษย์ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อต้องการแก้ปัญหาในการดำรงชีวิตและตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ให้มนุษย์มีความเป้นอยู่ที่มีความสะดวกสบายยิ่งขึ้นตามแต่ละยุคละสมัยประโยชน์ของเครื่องปั้นดินเผา แบ่งออกได้เป็น ลักษณะ คือ
            
1. ประโยชน์ของเครื่องปั้นดินเผาในด้านสิ่งก่อสร้าง
            
ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ อิฐชนิดต่างๆ กระเบื้องปูพื้น กระเบื้อมุงหลังคา ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ประเภทท่อน้ำ ท่อร้อยสาย ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้วัสดุอื่นแทน
            
2. ประโยชน์ของเครื่องปั้นดินเผาในด้านการใช้สอย ประดับตกแต่ง
            
ประโยชน์เครื่องปั้นดินเผากับการใช้สอยและประดับตกแต่ง ได้แก่ เครื่องครัว และของใช้ภายในบ้าน เช่น ถ้วย ชาม จาน แจกัน และที่เขี่ยบุหรี่ เครื่องประดับ เช่น เข็มกลัด กระดุม ตุ้มหู กำไล เครื่องสุขภัณฑ์ และอุปกรณ์เคมีภัณฑ์
            
3. ประโยชน์ของเครื่องปั้นดินเผาในด้านอุปกรณ์ทางอุตสาหกรรม
            
ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สิ่งขัดถู วัตถุทนไฟชนิดต่างๆ เครื่องกรอง หัวเทียน ผลิตภัณฑ์ฉนวนไฟฟ้าชนิดต่างๆเป็นต้น (อายุวัฒน์ สว่างผล, 2536 , 15-16)




ปราชญ์ชาวบ้าน


นางบัวไหล บุญเติง มีหน้าที่ดูแลกิจการ

นายพิทยา สายคำวัง มีหน้าที่ปั้นฝาหม้อ

นายปรีชา สายคำวัง มีหน้าที่ปั้นหม้อน้ำ

นางจีน สีจันทร์ มีหน้าที่ขัดเงา

สถานที่ตั้ง : บ้านเลขที่ 38 หมู่ที่ บ้านเหมืองกุง ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่


คณะผู้จัดทำ




จัดทำโดย
                                            นางสาวระพีพัฒน์     แกล้วกล้าหาญ 55122714
                                            นางสาวจุฑาทิพย์    วีระชาติ           55122705
                                            นางสาวพรทิพย์       สมนำ              55122710
                                            นางสาวนิสากร        อินสุข              55122708
                                            นางสาวอนันตญา    อินทราวุธ         55122725
(นับจากซ้ายไปขวา)