บ้านเหมืองกุง
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านเหมืองกุง จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่จากรุ่นสู่รุ่นเล่าว่า บรรพบุรุษของตนเองที่มาตั้งรกรากปักฐานอยู่ ณ หมู่บ้านเหมืองกุงแห่งนี้เป็นคนเผ่าไท ซึ่งถูกกวาดต้อนมาจากเมืองปุ เมืองสาด รัฐเชียงตุง ซึ่งหนีจากการถูกพวกพม่ารุกรานได้มาอาศัยอยู่ที่แห่งนี้ ปัจจุบันอยู่ในเขตรัฐฉานของประเทศพม่า โดยอพยพมาเพียง 6 ครัวเรือน (ปัจจุบันที่เมืองปุ เมืองสาดยังคงมีชาวบ้านที่มีวิถีชีวิตแบบชาวบ้านเหมืองกุงยังคงมีอยู่) จากคำบอกเล่าดังกล่าวได้สอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลาย ลักษณ์อักษรต่าง ๆ เช่นตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ พงศาวดารโยนกและข้อมูลจากป๊บกระดาษสาต่างๆ กล่าวถึงการเกณฑ์กำลังคนจากพม่าและสิบสองปันนามาสู่อาณาจักรล้านช้างหลาย ครั้งถึงยุคฟื้นฟูเชียงใหม่หลังจากที่ตกอยู่ในอำนาจพม่าเป็นเวลานานกว่า 2 ศตวรรษ ในปีระหว่างพ.ศ. 2325 – 2356 สมัยพระเจ้ากาวิละแห่งต้นตระกูลเจ้าเจ็ดตนขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ ยุคนั้นเรียกว่ายุค ” เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ” บรรพบุรุษของบ้านเหมืองกุงได้ถูกกวาดต้อนมาให้ตั้งรกราก ณ ที่ปัจจุบันแห่งนี่ร่วม 200 กว่าปี โดยให้ทำนาเพื่อนำผลผลิตคือ ข้าวเปลือกส่งให้แก่ เจ้ากาวิโรรสสุริยวงค์ (เจ้าชีวิตอ้าว) ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้ากาวิละเจ้าเมืองเชียงใหม่ บริเวณที่นาของเจ้าเมืองจะอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านเหมืองกุงพอถึงฤดูเก็บ เกี่ยว ชาวบ้านก็จะนำข้าวเปลือกบรรทุกล้อวัวเทียมเกวียนไปส่งที่คุ้มเจ้าเมืองในตัว เมืองเชียงใหม่ หมดจากฤดูทำนาจากอาชีพที่ติดตัวมาคือ ช่างปั้น เช่น น้ำต้น (คนโฑ) หม้อน้ำ สำหรับไว้ใส่น้ำดื่มน้ำใช้หรือขายเป็นรายได้จุนเจือครอบครัวและใช้ในพุทธ ศาสนะพิธีเป็นสังฆทานถวายวัด เป็นวิถีชีวิตที่สืบต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน
ที่มา : (ศรีวิจิตตรา , 2549 , 11)